Last updated: 26 ม.ค. 2563 | 3750 จำนวนผู้เข้าชม |
นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบความถูกต้องของค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 จากเครื่อง “ดัชบอย” ซึ่งเป็นเครื่องประดิษฐ์แบบพกพา จากหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เผยแพร่ผ่านศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แบบเรียลไทม์ ซึ่งล่าสุดได้ระบุว่าค่า PM2.5 ของจังหวัดลำปาง ณ ม.ราชภัฎลำปางสูงที่สุดของประเทศทะลุ400ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเมื่อช่วงเช้าวันนี้ ซึ่งค่าดังกล่าวสูงกว่าค่าที่กรมควบคุมมลพิษรายงาน ผ่านทางแอบพิเคชั่น Air4thai เกือบสองเท่าตัว คือ 110 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งค่าดังกล่าวจะทำให้ประชาชนเข้าใจผิดและจะสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนได้ จึงให้ดำเนินการตรวจสอบ และเผยแพร่ข้อเท็จจริงให้ประชาชนทราบโดยด่วน
ส่วนค่าที่เผยแพร่ในขณะนี้(15.00 น.) ของศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มช. ลดลงอยู่ที่ 121 และ 128 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งใกล้เคียงกับของกรมควบคุมมลพิษคือสูงสุด 116 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร
ขณะที่ในพื้นที่ของจังหวัดลำปางตลอดสองวัน คือเมื่อวานนี้และวันนี้การเผาป่าเกิดขึ้นจำนวนมาก มากกว่าวันปกติหลายเท่าตัว ทำให้ฝุ่นควันละอองขนาดเล็กยังคงปกคลุมในพื้นที่จังหวัดลำปางและค่า PM2.5 ยังคงเกินมาตรฐานมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนติดต่อกันเป็นวันที่21 จุดดความร้อน(Hot Spot) มีมากถึง 497 จุด ทางเจ้าหน้าที่เหยี่ยวไฟ ฝ่ายปกครอง ประชาชนจิตอาสา ต่างเข้าช่วยกันดับไฟตามจุดต่างๆ เร่งทำแนวกันไฟ เร่งพ่นน้ำตามสถานที่ต่างๆเพื่อช่วยลดฝุ่นละออง รวมถึงออกทำความเข้าใจกับชาวบ้านในพื้นที่ที่ติดกับป่าเพื่อย้ำไม่ให้มีการเผาเด็ดขาด
ทั้งนี้จากการเข้าตรวจสอบที่ตั้งของเครื่อง “ดัชบอย” พบว่ามีการติดตั้งไว้บนดาดฟ้าของอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ทั้ง 2 ตัว โดยการควบคุมของ ผศ.ดร.ถิรนันท์ สอนแก้ว สาขาฟิสิกส์ ซึ่งในวันนี้ไม่มีอาจารย์เข้าทำงานจึงได้โทรศัทพ์สอบถาม ผศ.ดร.ถิรนันท์ เกี่ยวกับเครื่อง “ดัชบอย” ที่ติดตั้งและค่าแตกต่างจากของกรมควบคุมมลพิษมากเป็นเพราะสาเหตุใด ผศ.ดร.ถิรนันท์ บอกว่าทาง ม.ราชภัฎลำปาง ขอรับเครื่องมาติดตั้งไว้ในขณะนี้เพียง 2 เครื่อง จากเดิมก่อนหน้านั้นนำมาติดตั้ง 4 เครื่อง แต่เมื่อดูแล้วว่าค่าใกล้เคียงกันจึงเหลือไว้ 2 เครื่อง ส่วนอีก2เครื่องก็ให้นำไปติดตั้งที่อื่น ซึ่งขระนี้ก็ติดตั้งไว้ใกล้กันเพื่อใช้ในการเทียบค่าเท่านั้น และเพิ่งติดตั้งหลังปีใหม่ซึ่งก็ถือว่าไม่นาน ส่วนค่าที่สูงมากนั้นก็ยังไม่แน่ใจว่าเกิดจากอะไร แต่หากดูแล้วก็คือมีแนวโน้มเป็นสีแดง เหมือนกับของกรมควบคุมมลพิษแต่ค่าจะสูงกว่า ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุ
เมื่อสอบถามว่าเครื่อง “ดัชบอย” วิธีการทำงานจะต้องมีการรีเซ็ทค่า ไหมหากค่าสุงผิดปกติ ผศ.ดร.ถิรนันท์ บอกว่าเป็นเครื่องวัดแบบอัตโนมัติ อ่านค่าแบบเรียลไทม์ จึงไม่ต้องแก้ไขหรือทำอะไรทั้งสิ้น ส่วนการอ่านค่าก็จะขึ้นกับพื้นที่ที่ติดตั้งและสภาพอากาศที่มาผสมกัน ซึ่งของ ม.ราชภัฎลำปาง ติดตั้งไว้บนดาดฟ้าสูงประมาณ 12 เมตรก็น่าจะใช้อ่านค่าได้ ซึ่งก็อาจจะเปรียบเทียบพื้นที่ใกล้เคียงและดูแนวโน้มได้ ส่วนบางครั้งที่ดูค่าจะขึ้นไปสูงถึง 1,000 ก็ยังดูๆอยู่ว่าเป็นเพราะปัจจัยอะไร หากจะบอกว่ามีปัญหาไหมตนเองไม่ทราบรายละเอียดเพราะระบบการทำงานของเครื่องต้องให้ทาง มช.เป็นผู้ให้ข้อมูล