Last updated: 18 พ.ย. 2564 | 1045 จำนวนผู้เข้าชม |
บรรยากาศภายในวัดประตูต้นผึ้ง ตำบลเวียงเหนือ เทศบาลนครลำปางในวันนี้คึกคักเป็นอย่างมากเนื่องจากทางวัดประตูต้นผึ้งร่วมกับชุมชนประตูต้นผึ้งท่านางลอย ได้มาช่วยกันตระเตรียมงานลอยกระทงยี่เป็ง จุดประกายแห่งชีวิต ลอยประทีป1,000 ดวง เพื่อเป็นพุทธบูชา และตระเตรียมเครื่องสะเดาะเคราะห์108 ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “วันดา” บรรจุลงไว้ในสะตวงและนำวางไว้ในสะเปาลอยน้ำของชุมชน เพื่อที่จะนำไปลอยลงในแม่น้ำวังในช่วงค่ำของวันพรุ่งนี้ ตามประเพณีที่ชาวบ้านปฎิบัติสืบทอดกันมาหลายร้อยปี
ทางอาจารย์หรือที่ชาวบ้านเรียก พ่ออาจารย์ เป็นอาจารย์ผู้ทำพิธีแบบพื้นบ้านมาคอยบอกและแนะนำการตระเตรียมสิ่งของต่างๆให้ครบสมบูรณ์ ประกอบด้วย พลู หมากแห้ง108 แกงส้ม , แกงหวาน108 , ขนม ส้ม อาหารคาวหวานต่างๆอย่างละ 108 นำมาใส่ในสะตวง(กระทงใบตอง) ก่อนที่จะนำมาบรรจุไว้ในสะเปา(กระทงเรือสำเภา)ขนาดใหญ่ พร้อมกับให้ชาวบ้านตัดผม ตัดเล็บ มาใส่ไว้ในสะเปา และนำน้ำขมิ้นส้มป่อยมาปัดเป่าเคราะห์กรรมออกจากตนเองที่อาจจะมีติดตัวมาลงใปในสะเปาเพื่อจะนำไปเผาและลอยไปกับแม่น้ำในวันลอยกระทง พรุ่งนี้
สำหรับกิจกรรมในวันพรุ่งนี้ช่วงค่ำ (19 พ.ย.) จะประกอบพิธีดังนี้
เวลา18.00น.กิจกรรมร่วมใจจุดประทีปพันดวงเป็นพุทธบูชา -ฟังสัมโมทนียกถา
เวลา 18.40น. ทำวัตรสวดมนต์เจริญจิตภาวนา
เวลา19.20น.ไหว้พระรับศีล
เวลา19.35น.ฟังเทศอานิสงส์ผางประทีบแบบล้านนาโดยพระผู้ทรงภูมิรู้ภูมิธรรมภายในวัด
เวลา20.09น.สะเดาะเคราห์
เวลา20.15น.ถวายจตุปัจจัยไทยธรรมพระสงฆ์อนุโมทนา
เวลา20.23น.แห่ลอยสะเปาที่น้ำวังจิบอกไฟ(ประทัด)สวยงามถวายเป็นรัตนตรัยปูจาตามป๋าเวณี
สำหรับวัดประตูต้นผึ้ง แห่งนี้คาดสรา้งขึ้นในปี พ.ศ.2308 ในสมัยเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้วเริ่มมีประชาชนมาอาศัยบริเวณเขตประตูต้นผึ้งมากยิ่งขึ้น เจ้าน้อยขัตติยะราชบุตรแห่งเจ้าราชบุตรคำโสมได้พบสถานที่เยื้องกับประตูต้นผึ้งอันเป็นประตูเมืองเดิมพระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาจึงได้จัดหาช่างมาสร้างวัดขึ้นมาชื่อว่าวัดประตูต้นผึ้งอีกครั้ง แต่ในยุคแรกวัดมีแค่ศาลาทำบุญและกุฏิสำหรับพระสงฆ์เพียงหลังเดียวเท่านั้นในพื้นที่1ไร่เศษจนต่อมาในปีพ.ศ2399ในสมัยเจ้าวรญาณรังษีได้ทรงสร้างกำแพงแก้วแลวิหารบูรณะกุฏิและศาลาทำบุญจนเป็นที่เรียบร้อยจนมีเจ้าอาวาสมาปกครองวัดตลอดมา(บันทึกการปกครองเจ้าอาวาสในปี2414ในช่วงที่ครูบาชัยยะลังกาขึ้นเป็นเจ้าอาวาส)จนต่อมาเจ้าอาวาสรูปก่อนนามครูบาจัยยะลังกาได้ละสังขารลงในปี2474ทำให้วัดว่างจากเจ้าอาวาสและศาสนสถานทรุดโทรมตามลำดับจนปี2475ครูบาเจ้าศรีมูล วชิรปัญโญได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสได้เล็งเห็นถึงความทรุดโทรมของศาสนสถานทางพระครูบาศรีมูลร่วมกับแม่เลี้ยงมุก พ่อจันโอ่ง จันทรวิโรจน์อันเป็นโยมอุปฐากแรกของวัดประตูต้นผึ้งแห่งนี้ได้ทำการปรับรุงบูรณะศาสนะสถานภายในวัดให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งและในช่วงปี พ.ศ2504-2518ทางวัดก็ได้ทำการสร้างปรับปรุงถาวรวัตถุให้ดียิ่งขึ้นและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่13กรกฎาคม 2513จนเป็นวัดโดยสมบูรณ์จนเมื่อปี2528
หลังจากครูบาเจ้าศรีมูลวชิรปัญโญได้ละสังขารลงจนคณะศรัทธามีมติเอกฉันท์ให้พระอธิการณรงค์ ปภากโร ดำรงค์ตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบมาจนถึงทุกวันนี้ โดยภายในพระวิหารของวัดยังมีสถาปัตยกรรมเก่าแก่ เครื่องหลวง อาทิ บนเพดานมีท้องฟ้าจำลองมีรูปดาวนักษัติต่างๆซึ่งทำจากวัสดุโบราณ และมีรูปนกเป็นสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์ และ รูปกระต่ายเป็นสัญญลักษ์ของพระจันทร์ ซึ่งท้องฟ้าจำลองนี้ปัจจุบันมีเพียง 2 แห่งในภาคเหนือ คือที่จังหวัดเชียงใหม่ และที่ วัดประตูต้นผึ้งแห่งนี้ ซึ่งที่นี่มีความสมบูรณ์มากกว่า และยังมีเครื่องสักการะและเครื่องประกอบในพิธีทางศาสนาี่เก่าแก่อีกหลายอย่างที่ยังคงอนุรักษ์และรักษาไว้ให้กับประชาชนได้เข้าชม