Last updated: 27 ม.ค. 2567 | 344 จำนวนผู้เข้าชม |
ศาลปกครองสูงสุดสั่งกองทุนรอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะรับ 11 โครงการของเครือข่ายสิทธิผู้ป่วย
วันนี้(26 ม.ค.67) เวลา 11.00 น. ศาลปกครองกลาง ได้อ่านผลแห่งคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลขดำที่ อส. 109/2558 คดีหมายเลขแดงที่ อส.297256b ระหว่าง สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ที่ 1 กับพวกราม 49 คน (ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นชาวบ้านในอำเภอแม่เมาะ)คณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า กองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ที่ 1 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังาน ที่ (ผู้ถูกฟ้องคดี) ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 นำโครงการของผู้ฟ้องคดี จำนวน 11 โดรงการ ซึ่งเป็นโครงการชุมชนที่เกี่ยวกับการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางต้านสุขภาพจากการดำเนินการของโรงไฟฟ้า เข้าสู่การพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 กำหนด
ศาลปกตรองสูงสุดมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่1 พิจารณาโครงการชุมชนจำนวน 11 โครงการของผู้ฟ้องคดีที่ 2 ถึงผู้ฟ้องคดีที่ 57 ซึ่งเป็นโครงการที่คณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าตำบล(คพรต) กองทุนพัฒนาไฟฟ้า โรงไฟฟ้าแม่มาะ จังหวัดลำปาง มิได้นำเสนอต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังาน ว่าด้วยกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 กำหนล ทั้งนี้ ภายใน 90วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โดยวินิจฉัยว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่3 เป็นองค์กรที่มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติโครงการชุมชน ส่วน คพรต. เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรองโดรงการชุมชนต่าง ๆ ก่อนนำเสนอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 พิจารณาอนุมัติซึ่งอำนาจในการกลั่นกรองโครงการนั้นย่อมเป็นดุลพินิจของ คพรต. แต่ละคน และเมื่อได้ผลของการกลั่นกรองเป็นเช่นใดแล้ว คพรต. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติโครงการชุมชน เพราะอำนาจในการพิจารณาอนุมัติโครงการชุมชนเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ตามข้อ 11 (5) ของระเบียบคณะกรรมการทำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า พ.ศ. 2553 ด้วยเหตุนี้ คพรต. จึงมีหน้าที่ที่จะต้องเสนอผลการพิจารณากลั่นกรองและการจัดลำดับดวามสำคัญของแต่ละโดรงการเพื่อให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่1 ได้พิจารณาทั้งหมด ตามนัยข้อ 25 (4) ของระเบียบเดียวกัน การที่ คพรต. มีความเห็นว่าโครงการชุมชนจำนวน 11 โครงการของผู้ฟ้องคดีมีวัตถุประสงค์ไม่เป็นไปตามมาตรา 93 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550โดยได้พิจารณาและจัดเรียงลำดับของโดรงการดังกล่าวในลำดับท้าย ๆ และไม่นำโครงการของผู้ฟ้องคดีมาพิจารณาอนุมัติเพื่อบรรจุเข้าเสนองานประจำปี เพื่อเสนอต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่1 กรณีดังกล่าว จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่
ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มิได้พิจารณาโครงการชุมชน จำนวน 11โครงการของผู้ฟ้องคดี โดยอ้างว่า เมื่อ คพรต. ได้มีมติวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีที่1 ย่อมมิอาจก้าวล่วงไปในส่วนของการพิจารณาวินิจฉัยของ คพรต. ได้ เมื่อภายหลังการพิจารณาแล้ว คพรต. มิได้นำเสนอโครงการทั้ง11โครงการของผู้ฟ้องคดีเข้าสู่การพิจารณาของผู้ถูกฟ้องคดีที่1 ผู้ถูกฟ้องคดีที่1 จึงไม่อาจพิจารณาโครงการชุมชนที่ คพรต. พิจารณาจัดลำดับแล้วได้ จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติด้วยเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบย้อนหลังเมื่อปี 2555 ก็พบว่าทั้ง 11 โครงการ ที่กลุ่มเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยได้ยื่นเสนอของโครงการแต่ถูกปฎิเสธ นั้นเป็นโครงการขนาดเล็กงบประมาณแต่ละโครงการไม่เกินสามแสนบาท ประกอบด้วย
1.โครงการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพ ชุมชนม่อนหินฟู ม.5 ต.สบป้าด
2. โครงการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพ บ้างสบป้าด ม.1 ต.สบป้าด
3. โครงการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพ บ้านสบเติ๋น ม.2 ต.สบป้าด
4.โครงการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพ บ้านสบเมาะ ม.4 จ.สบป้าด
5. โครงการพัฒนาอาชีพกลุ่มผู้เลี้ยงหมูหลุมม่อนหินฟู ชุมชนม่อนหินฟู ม.5 ต.สบป้าด
6. โครงการหนุนเสริมแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ชุมชนม่อนหินฟู ม.5 ต.สบป้าด
7. โครงการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพ บ้างปางป๋วย ม.2 ต.นาสัก
8. โครงการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพ บ้างวังน้ำต้อง ม.3 ต.นาสัก
9.โครงการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพ บ้างแม่หล่วง ม.7 ต.นาสัก
10.โครงการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพ บ้านใหม่รัตนโกสิน ม.5 ต.สบป้าด
11.โครงการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพ บ้างหัวฝาย ม.1 ต.บ้านดง