Last updated: 22 ก.ย. 2563 | 1239 จำนวนผู้เข้าชม |
วันนี้ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดลำปาง ชาวบ้านใน 2 ตำบลประกอบ ด้วย ต.บ้านดง 4 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านหัวฝาย ม.1, บ้านดง ม.2, บ้านสวนป่าแม่เมาะ ม.7 และบ้านหัวฝายหล่ายทุ่ง ม.8 จำนวน 982 ครัวเรือน และบ้านห้วยคิง ม.6 ต.แม่เมาะ จำนวน 476 ครัวเรือน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2556 หลังจากได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะตั้งแต่ปี 2552
แต่จนถึงปัจจุบันชาวบ้านทั้งหมดยังไม่สามารถอพยพย้ายออกจากพื้นที่เดิมไปอยู่ในพื้นที่ ที่รัฐจัดสรรให้ได้ และยังไม่มีการจ่ายเงินชดเชย ซึ่งที่ผ่านมาชาวบ้านได้ทำหนังสือมวงถามความคืบหน้ามาโดยตลอด
โดยเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 63 ชาวบ้านห้วยคิงได้รวมตัวกันติดตามความคืบหน้าแล้วครั้งหนึ่ง โดยมีนายนิมิตร ผดุงศิลป์ไพโรจน์ นายอำเภอแม่เมาะ เข้าชี้แจงพร้อมสรุปประเด็นความคืบหน้า กรณีการจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้บุกรุก 63 ราย เพื่อเคลียร์พื้นที่รองรับการอพยพ โดยคณะกรรมการดำเนินการอพยพราษฎร 5 หมู่บ้าน มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน พิจารณาว่ามติ ครม. 30 เม.ย. 62 ได้มอบหมายให้กระทรวงพลังงาน โดย กฟผ. ดูแลเรื่องการจ่ายเงินเยียวยาในพื้นที่รองรับการอพยพ จึงเห็นชอบตามมติ ครม.วันที่ 30 เม.ย. 62 ดังกล่าว โดยจะนำเรื่องเสนอในที่ประชุมบอร์ดใหญ่ หรือคณะกรรมการอำนวยการฯ ซึ่งมีผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน และ จะประชุมร่วมกันในวันที่ 4 ส.ค. 63 วันที่ 4 ส.ค. 2563 ชาวบ้านได้เดินทางมาติดตามความคืบหน้าและได้ยื่นหนังสือให้ ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร หัวหน้าผู้ตรวจ กระทรวงพลังงาน ที่เดินทางมาเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการอพยพ 5 หมู่บ้าน อ.แม่เมาะ ที่ จ.ลำปาง เพื่อติดตามและทวงถามความคืบหน้า
และวันนี้ได้มีการการประชุมคณะกรรมการอำนวยการอพยพ 5 หมู่บ้าน อีกครั้ง ชาวบ้านจึงได้เดินทางมาติดตามความคืบหน้าดังกล่าว โดยมีนายสุรพล บุรินทราพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ได้เดินทางมาพูดคุยกับชาวบ้าน พร้อมระบุว่าตนเองเข้าใจในความเดือดร้อนแต่ขณะนี้ตนเองไม่มีอำนาจ เพราะผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางเป็นประธานกรรมการอำนวยการอพยพ
จากนั้นระหว่งพักการประชุม ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร หัวหน้าผู้ตรวจ กระทรวงพลังงานฯ ได้มาพูดคุยกับชาวบ้านซึ่งก็ไม่รับปากว่าจะกำหนดวันที่จะให้แล้วเสร็จได้เมื่อไหร่ หลังขาวบ้านขอให้อพยพเข้าในพื้นที่ได้ในเดือนมีนาคม 2564 แต่จะทำให้ดีที่สุด
ทั้งนี้ชาวบ้านต้องการให้ประธานฯคือผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง มอบอำนาจให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นผู้ดำเนินการเรืองอพยพแทนฯ และ ขอให้มีการแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการฯเป้ฯประธานกองทุนฯแทนผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ที่ลาออก เพราะขณะนี้โครงการต่างๆที่ขอใช้งบประมาณกองทุนหยุดชะงักทั้งหมดเพราะประธานฯลาออก ซึ่งจะทำให้งบประมาณปี 2563 ต้องส่งคืน ดังนั้นชาวบ้านจึงขอให้มีการขยายโครงการออกไป คือ หากงบประมาณไม่เกินสามแสนบาทให้ขยายโครงการออกไปจนถึง เดือนธันวาคม 2563 หากงบประมาณเกินกว่านั้นสามารถดำเนินการในปีงบประมาณ2564 ได้ จึงได้มีการยื่นหนังสือให้กับดร.ทวารัฐ สูตะบุตร หัวหน้าผู้ตรวจ กระทรวงพลังงานฯ เพื่อนำไปพิจารณา
หลังจากนั้นดร.ทวารัฐ ได้กลับเข้าไปประชุมต่อ แต่ชาวบ้านยังคงยืนยันจะรอฟังผลการะประชุม แต่จะขอไปฟังในอาคารศาลากลาง ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องมาทำการล็อคกุญแจประตูทางเข้า-ออก ทุกด้าน ยกเว้นประตูด้านหน้าเพียงประตูเดียว พร้อม นำเจ้าหน้ที่ตำรวจ นปพ. มายืนขวางบริเวณประตูทางเข้าด้านหน้าทั้งหมด
หลังจากที่ประชุมเสร็จ ดร.ทวารัฐสูตะบุตร หัวหน้าผู้ตรวจ กระทรวงพลังงานฯ พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ ลงมาพบกับชาวบ้านที่มานั่งรออยู่บริเวณด้านหน้าศาลากลาง โดยสรุปคือเรืองการกันงบประมาณจะได้นำเสนอ ครม.ให้เสร็จภายในสองเดือน ส่วนขั้นตอนอื่นได้มอบให้พลังงานไปทำขั้นตอนมาว่าแต่ละขั้นตอนจะเสร็จเมื่อไหร่ ส่วนการประชุมคณะอำนวยการฯหนึ่งปีจะประชุม4ครั้ง ครั้งต่อไปจะเป็นปลายปี โดยการประชุมแต่ละครั้งต้องมีความชัดเจนว่าจะต้องทำอะไร ซึ่งขณะนี้ตนเองยังไม่สามรถบอกได้ว่าคณะอนุกรรมการฯแต่ละคณะจะต้องทำอะไรเสร้จเมื่อไหร่อย่างไร แต่ก้ได้ให้แนวทางไว้แล้วว่าจะต้องกำหนดเป้าหมายใหม่ และต้องนำมารายงานให้คณะของตนเองทราบเป็นขั้นตอนไป สรุปคือด้านงบประมาณที่จะให้การก่อสร้างเดินต่อไปได้ จะเร่งทำหนังสือเข้า ครม.ให้เสร็จภายใน2เดือน ส่วนเรืองอื่นขอนิดหนึ่งต้องให้เกียรติคณะทำงานในพื้นที่เพื่อไปประเมินก่อนว่าแต่ละเรื่องต้องทำอะไรบ้าง เสร็จเมื่อไหร่ และรายงานให้ตนเองทราบโดยตรง
สุดท้ายตัวแทนชาวบ้านได้แสดงจุดยืนคือการมาติดตามความคืบหน้าในวันนี้ขอแค่2ประเด็นคือ ขอให้มีการเปลี่ยนประธานคณะกรรมการอพยพ ระดับจังหวัดจากผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัด และ เปลี่ยนประธานกองทุนฯที่ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางลาออก เป็น รองผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อให้งานทั้งหมดเดินหน้าได้ และวันนี้ได้ยื่นหนังสือไปแล้ว หากไม่ได้รับความชัดเจนหรือมีคำสั่งใดๆออกมาภายใน5วันจะนำมวลชนทั้งหมดไปปิดลานเทภายในเหมืองแม่เมาะเท่านั้น จากนั้นชาวบ้านจึงได้แยกย้ายกันกลับบ้านในช่วงบ่ายที่ผ่านมา